กาแล็กซี่ทางช้างเผือก
กาแล็กซี่ทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy)
กาแล็กซี่ทางช้างเผือกมีลักษณะรูปร่างแบบก้นหอยหรือแบบกังหัน (Spiral Galaxy) มีเส้น ผ่านศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง หนาประมาณ 10,000 ปีแสง มีอายุประมาณ 14,000 ล้านปี ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณ 100,000 ล้านดวง ทั้งดวงอาทิตย์ โลกและดาวในระบบสุริยะ
ปัจจุบันมีหลักฐานและเหตุผลสรุปได้ว่า ดวงอาทิตย์อยู่ที่แขนของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ซึ่ง อยู่ห่างจากใจกลางประมาณ 30,000 ปีแสง
การสังเกตทางช้างเผือกในท้องฟ้า
วันที่ท้องฟ้าที่แจ่มใสคืนเดือนมืด เราจะเห็นดวงดาวสว่างเป็นจุดๆเต็มท้องฟ้าแล้วเรายังอาจ เห็นทางสีขาวเป็นแถบยาวพาดผ่านท้องฟ้าคือทางช้างเผือก เป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก
ทางช้างเผือกพาดผ่านกลุ่มดาวสว่างดังนี้ กลุ่มดาวแคสสิโอเปีย (ค้างคาว) เพอร์เซอุส สารถี คนคู่ กางเขนใต้ แมงป่อง คนยิงธนู นกอินทรีย์ และกลุ่มดาวหงส์
ดวงดาวที่เรามองเห็นเต็มท้องฟ้าก็อยู่ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ส่วนดวงดาวในกาแล็กซี่ อื่นๆเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะอยู่ห่างไกลมาก กาแล็กซี่ที่อยู่ใกล้กาแล็กซี่ทาง ช้างเผือกมากที่สุด คือ กาแล็กซี่แมกเจลแลนใหญ่ โดยอยู่ห่างจากกาแล็กซี่ทางช้างเผือกประมาณ 170,000 ปีแสง
เนบิวลา (Nebula) เป็นกลุ่มก๊าซและฝุ่นขนาดใหญ่ ที่รวมกันค่อนข้างหนาแน่น อยู่ในที่ว่างระหว่าง ดาวฤกษ์ มีทั้งประเภทไม่เรืองแสง และเรืองแสงได้เพราะได้รับพลังงานจากดาวฤกษ์
เนบิวลามืดงวงช้าง เป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มก๊าซและฝุ่นหนาทึบ ขนาดมหึมา
เนบิวลามืดงวงช้าง เนบิวลาผ้าคลุมไหล่
เนบิวลาผ้าคลุมไหล่ เป็นส่วนโค้งของ ฟองระเบิดใหญ่ ซึ่งเป็นซากดาว ระเบิด อายุเก่าแก่ ประมาณ 50,000 ปี ยังคงขยายตัวออกด้วยความเร็ว อยู่ใกล้กลุ่มดาวหงส์